ข้อดีของการทำ Hyper-Personalization ในยุคที่ ‘ข้อมูล’ คือแกนหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจ

ข้อดีของการทำ Hyper-Personalization ในยุคที่ ‘ข้อมูล’ คือแกนหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจ

November 28, 2023

       ยุคดิจิทัลคือยุคที่ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงโลกทั้งใบเข้าด้วยกัน ข้อมูลมหาศาลนั้นสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์กับธุรกิจได้อย่างหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการทำ Hyper-Personalization ที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าได้จำนวนมากขึ้น พร้อมสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้มากกว่าเดิม และยังเป็นเทรนด์ที่มาแรงที่สุดในสองสามปีที่ผ่านมา นี่จึงเป็นโอกาสที่ดีที่บริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ จะสามารถยกระดับธุรกิจสู่ศักยภาพที่เหนือกว่าด้วยการใช้ประโยชน์จาก ‘ข้อมูล’

       Hyper-Personalization คือ การนำเอา Big Data หรือข้อมูลขนาดใหญ่มาวิเคราะห์พฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกค้า เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการสื่อสารและการบริการแบบเฉพาะบุคคล ช่วยให้ธุรกิจสามารถกำหนดแนวทางการตลาดและการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น โดยสามารถอ่านบทความเกี่ยวกับขั้นตอนการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาวิเคราะห์ เพื่อทำ Hyper-Personalization ได้ที่บทความนี้ http://bit.ly/3LI7IfP   


        ประโยชน์ในการทำ Hyper-Personalization ที่ส่งผลดีต่อธุรกิจมีดังนี้

  1. สร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับลูกค้า (Improve Customer Satisfaction)
         การทำ Hyper-Personalization สามารถสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับลูกค้า โดยสร้างประสบการณ์ระดับเฉพาะบุคคล ซึ่งถูกออกแบบมาให้เข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็นทางด้านออนไลน์หรือการซื้อสินค้าจากหน้าร้านก็ตาม
         ตัวอย่างเช่น การทำ Hyper-Personalization เพื่อสร้างความเข้าใจ Personality หรือบุคลิกภาพของลูกค้าแต่ละราย เพื่อให้สามารถสร้าง Marketing Campaign ได้อย่างเหมาะสม โดยไม่ทำให้ลูกค้าเกิดความรำคาญใด ๆ ทั้งสิ้น
         หากลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดี โอกาสที่แบรนด์จะสามารถปิดยอดขายก็สูงขึ้นเช่นกัน จึงนำไปสู่ประโยชน์ข้อที่สองของ Hyper-Personalization




  2. สร้างยอดขาย (Drive Revenue)
         จากที่ได้เกริ่นไปข้างต้น เมื่อบริษัทหรือแบรนด์สามารถมอบประสบการณ์ตามความต้องการของลูกค้าได้ โอกาสที่ลูกค้าจะซื้อหรือใช้บริการก็จะสูงขึ้นเช่นกัน สามารถสร้าง Conversion Rate ได้และเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น เช่นร้านขายวัตถุดิบกาแฟ สามารถนำข้อมูลขนาดใหญ่มาวิเคราะห์เมื่อใกล้ถึงเวลาที่คาดการณ์ว่าเมล็ดกาแฟของลูกค้านั้นใกล้หมดแล้วจึงส่ง Campaign ต่าง ๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้ซื้อ หรือสามารถ Recommend เมล็ดกาแฟออกใหม่ที่มีรสชาติและกลิ่นคล้ายคลึงกับที่ลูกค้าชอบตามข้อมูลของลูกค้าที่วิเคราะห์ได้
         การวิเคราะห์ Customer Life Cycle แบบเจาะลึกถึงระดับการได้ข้อมูลลูกค้ารายบุคคลจะทำให้สามารถวางแผนการตลาดแบบ Hyper-Personalization เพื่อกระตุ้นยอดขายในทุก ๆ ขั้นตอนของ Customer Journey (ตัวอย่างตามตารางด้านบน) พร้อมทั้งสามารถเชื่อมต่อข้อมูลจากทุก ๆ Touchpoint ทุก ๆ ช่องทางการติดต่อกับลูกค้า เพื่อเก็บและวิเคราะห์ Data เหล่านี้ ซึ่งหากสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้เข้าใจถึงตัวตนของลูกค้าแต่ละรายได้มากขึ้นเท่านั้น

     

  3. ลดต้นทุน (Reduce Costs)
         ในทางเดียวกันการทำ Hyper-Personalization ยังสามารถช่วยลดต้นทุนต่าง ๆ เช่น ต้นทุนในการเพิ่มลูกค้า (Customer Acquisition Cost) หรือในการคงลูกค้าเก่าไม่ให้เปลี่ยนใจไปหาคู่แข่ง (Retention Cost) หรือแม้แต่ต้นทุนที่ถูกใช้ไปอย่างไร้ประสิทธิภาพในการทำ All-in-one Marketing กับลูกค้าที่ไม่ได้สนใจที่จะซื้อสินค้า
         ภายใต้ Topic ของการลดต้นทุนยังสามารถรวมไปถึงการสร้าง Automation Workflow โดยการนำข้อมูลและเทคโนโลยีมาสร้างให้เกิดการกระบวนการวิเคราะห์แบบอัตโนมัติ เพื่อลดต้นทุนจากการลงทุนที่ไม่จำเป็นได้อีกด้วย

  4. ดุลยภาพระหว่าง Supply และ Demand (Equilibrium of Supply and Demand)
         Hyper-Personalization สามารถทำให้แบรนด์หรือเวนเดอร์ต่าง ๆ สามารถวิเคราะห์จำนวน Demand จากทางลูกค้าเพื่อการบริหารจัดการคำสั่งซื้อหรือการจัดหาวัตถุดิบจากทางโรงงานได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งสามารถสามารถ Optimize ได้ตลอดทั้ง Supply Chain และไม่ต้องสต็อคสินค้าเกินความจำเป็น 

         
         เมื่อสามารถหาดุลยภาพระหว่าง Supply และ Demand จะช่วยให้กำหนดราคาในการขายแต่ละช่วงเวลาตามจำนวน Supply และ Demand ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อธุรกิจต่าง และเห็นได้ชัดในธุรกิจภาคการเกษตร เช่น ราคาของมะนาวที่แปรผันไปตาม Supply และ Demand ของแต่ละช่วงเวลา

     

      ตัวอย่างธุรกิจที่ทำ Hyper-Personalization

  • Starbucks
         Starbucks ถือว่าเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญในการทำ Hyper-Personalization และประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยนำเทคโนโลยีของ AI มาปรับใช้กับกระบวนการทำงานของแบรนด์อย่างเต็มความสามารถ โดย Starbucks ได้ทำการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้าผ่านการใช้งานบน Application ไม่ว่าจะเป็นการ Customize เครื่องดื่ม หรือจะเป็นจำนวนการสั่งซื้อขนมหรือเบเกอรี่ โดยหากลูกค้ายินยอมให้เก็บข้อมูลส่วนบุคคลให้กับทาง Starbucks ลูกค้าจะได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น สิทธิพิเศษเฉพาะ Member โดยสามารถนำมาการใช้งานในหน้า Application มาวิเคราะห์แบบ Real Time และทำการส่ง Offers หรือ Campaign ต่าง ๆ ให้แก่ผู้ลูกค้าตามความชอบแบบเฉพาะบุคคล
  • Netflix
         ปัจจุบันนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก Netflix Streaming Platform อันดับต้น ๆ ของโลก เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ชำนาญในการใช้ AI เพื่อทำ Hyper-Personalization ไม่ว่าจะเป็นการเสนอรายการ ซีรีย์ หนัง หรือ ละครต่าง ๆ ให้เหมาะกับสิ่งที่ผู้ใช้งานชื่นชอบ
         Netflix ไม่ได้เก็บแค่ข้อมูล Basic ต่าง ๆ เช่น อายุ เพศ ภาษา ของผู้ใช้งานหรือสิ่งที่ผู้ใช้งานรับชม แต่ Netflix เก็บข้อมูลลงลึกกว่านั้น เช่น วันที่และเวลารับชม Device ที่ผู้ใช้งานใช้ในการรับชม Pattern ต่าง ๆ เช่น ชอบ Fast Forward ตอนไหน Pause ตอนไหน เป็นต้น หรือแม้กระทั่งจำนวนครั้งในการรับชมซีรีย์หรือหนังเรื่องนี้ ข้อมูลทุกอย่างนี้ถูกนำไปวิเคราะห์เพื่อปรับหน้า Landing Page ของ Netflix ให้เหมาะสมกับผู้ใช้แบบรายบุคคล
         นอกจากนี้ Netflix ยังมีระบบแสดง Thumbnail ที่แตกต่างกันในแต่ละผู้ใช้งาน ตามหลักวิเคราะห์ความชอบหรือ Psychology ของผู้ใช้งานแต่ละราย
  • Amazon
         อีกหนึ่งบริษัทที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ นั้นก็คือ Amazon ที่ถือว่าเป็นเจ้าแม่แห่งวงการ Hyper-Personalization เลยก็ว่าได้ แม้ว่าคลังสินค้าของ Amazon จะใหญ่ติดอันดับต้น ๆ ของโลก แต่การทำ Hyper-Personalization สำหรับ Amazon นั้นไม่ใช่เรื่องยากนัก เนื่องจากมีการวางระบบไว้อย่างดี ทำให้สามารถศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม เช่น สินค้าที่เคยซื้อไปในอดีต สินค้าในตะกร้า Wishlist หรือแม้กระทั่งสินค้าที่ Search บ่อย ๆ แต่ไม่ได้ทำการซื้อ จึงทำให้ Landing Page ของเว็บไซต์ Amazon ของลูกค้าแต่ละรายมีหน้าตาที่แตกต่างกันไป เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานและซื้อสินค้า รวมไปถึง List รายการต่าง ๆ ที่นักช้อปท่านอื่น ๆ ได้ทำการซื้อไปพร้อมกับสินค้าที่กำลัง Search หาอยู่
         การวิเคราะห์ข้อมูลของ Amazon ไม่ได้ใช้เพียงแต่ Recommend สินค้าต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แต่ยังสามารถใช้ร่วมกับแพลตฟอร์มอื่นได้ เช่น ลูกค้ารายหนึ่งได้ทำการสั่งซื้อขนมให้แก่สุนัข ดังนั้นในเวลาอันใกล้เคียงนี้ทาง Amazon ก็จะไม่ได้ Recommend สินค้านี้ให้ แต่เมื่อลูกค้าเข้าไปดูรายการใน Amazon Prime ทางบริษัทจะแนะนำหนังที่เกี่ยวข้องกับสุนัขแทน

         การทำ Hyper-Personalization ไม่ใช่เรื่องใหม่ในปัจจุบัน เนื่องจากองค์กรใหญ่ ๆ ในต่างประเทศได้ปรับไปใช้กันเรียบร้อย ขณะเดียวกันในประเทศไทยไทยเองปัจจุบันยังคงมีเพียงบางองค์กรเท่านั้นที่ได้เริ่มการนำข้อมูลว่าวิเคราะห์เพื่อทำการ Hyper-Personalization อย่างไรก็ตามด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในยุคสมัยใหม่ทำให้การทำ Hyper-Personalization นั้นไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป การใช้ Big Data เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการทำ Hyper-Personalization อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วิธีการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างโมเดล Machine Learning และ AI นำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ไปปรับใช้กับการตลาดแบบ Hyper-Personalization จนถึงการวัดผลและปรับปรุง ด้วยความสามารถของ Big Data จะช่วยให้องค์กรสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า ปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร สามารถครองใจลูกค้าเก่าและดึงดูดลูกค้าใหม่ เพื่อความเหนือกว่าในการแข่งขันที่ดุเดือนในธุรกิจยุคดิจิทัล

Relate Contents

Update big data knowledge, analyse data, trends, and highlight news

Blendata นำเทคโนโลยี Big Data ไทย คว้ารางวัลระดับนานาชาติจาก APICTA 2023 ดันเทคโนโลยีไทยก้าวสู่ระดับโลก
เบลนเดต้า (Blendata) นำแพลตฟอร์ม Blendata Enterprise เทคโนโลยีบริหารจัดการ Big Data ครบวงจรสัญชาติไทย คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 บนเวทีระดับประเทศ TICTA - Thailand ICT Awards 2023 หลังเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันต่อในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และได้คว้ารางวัล Merit Award ในระดับนานาชาติจากเวที APICTA - The Asia Pacific ICT Alliance Awards 2023 ณ ประเทศฮ่องกง ในประเภท Business Services สาขาย่อย ICT Services Solutions เวทีการแข่งขันระดับนานาชาติที่รวมตัวแทนจากประเทศในเอเชียแปซิฟิก เพื่อค้นหาสุดยอดเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมที่มีคุณค่าต่อสังคมและธุรกิจ ชูจุดเด่นแพลตฟอร์มบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่แก้ปัญหาด้าน Big Data ขององค์กรธุรกิจได้จริง ใช้งานง่าย สามารถวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทันต่อการแข่งขันธุรกิจโลกดิจิทัล
Blendata นำเทคโนโลยี Big Data ไทย คว้ารางวัลระดับนานาชาติจาก APICTA 2023 ดันเทคโนโลยีไทยก้าวสู่ระดับโลก
เบลนเดต้า (Blendata) นำแพลตฟอร์ม Blendata Enterprise เทคโนโลยีบริหารจัดการ Big Data ครบวงจรสัญชาติไทย คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 บนเวทีระดับประเทศ TICTA - Thailand ICT Awards 2023 หลังเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันต่อในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และได้คว้ารางวัล Merit Award ในระดับนานาชาติจากเวที APICTA - The Asia Pacific ICT Alliance Awards 2023 ณ ประเทศฮ่องกง ในประเภท Business Services สาขาย่อย ICT Services Solutions เวทีการแข่งขันระดับนานาชาติที่รวมตัวแทนจากประเทศในเอเชียแปซิฟิก เพื่อค้นหาสุดยอดเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมที่มีคุณค่าต่อสังคมและธุรกิจ ชูจุดเด่นแพลตฟอร์มบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่แก้ปัญหาด้าน Big Data ขององค์กรธุรกิจได้จริง ใช้งานง่าย สามารถวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทันต่อการแข่งขันธุรกิจโลกดิจิทัล
Blendata ลุยขยาย Ecosystem จับมือพันธมิตรเอเชีย Smart Minds ยกระดับโซลูชันด้านโลจิสติกส์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APEC)
เบลนเดต้า (Blendata) ผู้พัฒนาเทคโนโลยีบริหารจัดการ Big Data อัจฉริยะ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับบริษัท Smart Minds ผู้ให้บริการโซลูชันโลจิสติกส์ชั้นนำในประเทศฮ่องกง ผสานศักยภาพด้านการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ของ Blendata พร้อมความเชี่ยวชาญด้านระบบโลจิสติกส์ของ Smart Minds
Blendata ลุยขยาย Ecosystem จับมือพันธมิตรเอเชีย Smart Minds ยกระดับโซลูชันด้านโลจิสติกส์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APEC)
เบลนเดต้า (Blendata) ผู้พัฒนาเทคโนโลยีบริหารจัดการ Big Data อัจฉริยะ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับบริษัท Smart Minds ผู้ให้บริการโซลูชันโลจิสติกส์ชั้นนำในประเทศฮ่องกง ผสานศักยภาพด้านการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ของ Blendata พร้อมความเชี่ยวชาญด้านระบบโลจิสติกส์ของ Smart Minds
ข้อดีของการทำ Hyper-Personalization ในยุคที่ ‘ข้อมูล’ คือแกนหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจ
ยุคดิจิทัลคือยุคที่ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงโลกทั้งใบเข้าด้วยกัน ข้อมูลมหาศาลนั้นสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์กับธุรกิจได้อย่างหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการทำ Hyper-Personalization ที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าได้จำนวนมากขึ้น พร้อมสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้มากกว่าเดิม และยังเป็นเทรนด์ที่มาแรงที่สุดในสองสามปีที่ผ่านมา นี่จึงเป็นโอกาสที่ดีที่บริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ จะสามารถยกระดับธุรกิจสู่ศักยภาพที่เหนือกว่าด้วยการใช้ประโยชน์จาก ‘ข้อมูล’
ข้อดีของการทำ Hyper-Personalization ในยุคที่ ‘ข้อมูล’ คือแกนหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจ
ยุคดิจิทัลคือยุคที่ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงโลกทั้งใบเข้าด้วยกัน ข้อมูลมหาศาลนั้นสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์กับธุรกิจได้อย่างหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการทำ Hyper-Personalization ที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าได้จำนวนมากขึ้น พร้อมสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้มากกว่าเดิม และยังเป็นเทรนด์ที่มาแรงที่สุดในสองสามปีที่ผ่านมา นี่จึงเป็นโอกาสที่ดีที่บริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ จะสามารถยกระดับธุรกิจสู่ศักยภาพที่เหนือกว่าด้วยการใช้ประโยชน์จาก ‘ข้อมูล’

Relate Contents

Update big data knowledge, analyse data, trends, and highlight news

Drive your business with data
Drive your business with data
Discover hidden opportunities within your data.

We use cookie to give you the best online experience Please let us know if you agree to all of these cookie.

We use cookie to give you the best online experience Please let us know if you agree to all of these cookie.

©2021 Blendata. All right reserved.

©2021 Blendata. All right reserved.