แค่ใช้ Data ก็รู้ใจลูกค้ามากกว่าเดิม ยกระดับธุรกิจด้วยกลยุทธ์การตลาดแบบ Hyper-Personalization

แค่ใช้ Data ก็รู้ใจลูกค้ามากกว่าเดิม ยกระดับธุรกิจด้วยกลยุทธ์การตลาดแบบ Hyper-Personalization

28 พฤศจิกายน 2566

        เนื่องจากผู้บริโภคในยุคปัจจุบันให้ความสำคัญกับความรวดเร็วและเวลาเป็นอย่างมากมาย ทำให้เกิดความต้องการสูงต่อการตลาดที่นำเสนอประสบการณ์ที่ปรับให้เข้ากับแต่ละบุคคล (Personalized) และอาจทำให้ความพึงพอใจของผู้บริโภคลดลงหากแบรนด์หรือร้านค้าพยายามส่งแคมเปญหรือแนะนำสินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค

       การตลาดแบบ Personalized Marketing หรือการตลาดแบบเจาะจงเฉพาะบุคคล คือคำที่คุ้นหูในธุรกิจยุคดิจิทัล แบรนด์สินค้าต่าง ๆ ล้วนพยายามที่จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อให้ได้รับข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ และทำให้ได้รู้จักลูกค้ามากยิ่งขึ้น แสดงให้เห็นว่าในยุคนี้การรู้จักลูกค้าแบบผิวเผินนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป เจ้าของธุรกิจต้องพึ่งการตลาดแบบ Hyper-Personalization มากขึ้น

       การทำ Hyper-Personalization คือการที่แบรนด์ได้เรียนรู้และวิเคราะห์อุปนิสัยและพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าอย่างละเอียด แต่ก่อนที่แบรนด์ต่าง ๆ จะสามารถรู้ใจลูกค้าได้ แบรนด์จะต้องนำข้อมูลลูกค้าจำนวนมาก หรือ Big Data เพื่อนำมาวิเคราะห์เชิงลึก แล้วจึงนำข้อมูลที่เกี่ยวกับลูกค้าเฉพาะบุลคลไปทำการตลาดต่าง ๆ ให้เข้ากับบุคลิกภาพ (Personality) ของลูกค้าแต่ละราย เช่น

  • ลูกค้าสนใจและจะซื้อสินค้าใดในครั้งถัดไป (Next Best Offer)
  • ลูกค้าจะซื้ออีกครั้งเมื่อไหร่ (Repurchase Intention)
  • การวิเคราะห์จัดกลุ่มลูกค้าตามพฤติกรรม (Customer Segmentation)
  • โฆษณาหรือโปรโมชันใดที่ลูกค้าสนใจและจะสามารถนำไปสู่การซื้อสินค้าได้ (Campaign Analysis)

       Big Data หรือข้อมูลขนาดใหญ่ คือแรงขับเคลื่อนหลักในการทำ Hyper-Personalization รวมถึงการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีที่ทำให้บริษัทสามารถรวบรวมข้อมูลในปริมาณมหาศาล และนำมาวิเคราะห์ต่อยอดอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งขั้นตอนการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาวิเคราะห์โดยสังเขป มีดังนี้

  1. การรวบรวมข้อมูล จากแหล่งต่าง ๆ ทั้งแบบเรียลไทม์และข้อมูล Demographics ทั่วไป ซึ่งอาจมาจาก ข้อมูลลูกค้า เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพศ อายุ ประวัติการซื้อ และข้อมูลการติดต่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า ข้อมูลการใช้งาน เช่น ข้อมูลจากการใช้งานเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือสื่อออนไลน์อื่น ๆ เช่น ประวัติการคลิก การค้นหา และการทำธุรกรรมออนไลน์ ข้อมูลจากโซเชียลมีเดียและเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น ข้อมูลจากโพสต์ กิจกรรม และความสนใจ รวมถึงข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์ IoT เช่น ข้อมูลจากเซ็นเซอร์และอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตของสรรพสินค้า (IoT) เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และข้อมูลการใช้งานอื่น ๆ เป็นต้น
  2. การเก็บข้อมูล ข้อมูลที่รวบรวมจะถูกเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data Warehouse โดยใช้เทคโนโลยีฐานข้อมูลที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย
  3. การวิเคราะห์ข้อมูล การนำข้อมูลที่เก็บไว้มาวิเคราะห์เพื่อค้นหาแนวโน้ม รูปแบบ และข้อมูลสำคัญอื่น ๆ ที่สามารถใช้ในการสร้างการตลาดแบบ Hyper-Personalization โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics Tools) ที่มีอยู่ในตลาด
  4. การสร้างโมเดล Machine Learning และ AI การใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) เพื่อสร้างโมเดลที่สามารถทำนายพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าในอนาคตจากข้อมูล Big Data ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของการทำนาย ให้มีความยืดหยุ่น และรองรับความหลากหลายของสถานการณ์ต่าง ๆ ได้มากขึ้น นอกจากนี้ การนำ AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการตลาดแบบ Hyper-Personalization ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน และพัฒนาประสบการณ์การของลูกค้าที่ได้รับ (User Experience) ให้ดียิ่งขึ้นด้วย
  5. นำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ไปปรับใช้กับการตลาดแบบ Hyper-Personalization ข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากขั้นตอนก่อนหน้านี้จะถูกนำมาปรับใช้กับการตลาดแบบ Hyper-Personalization โดยการสร้างข้อเสนอ ข้อความ และประสบการณ์ที่เข้ากับแต่ละบุคคลอย่างละเอียดแม่นยำ
  6. การวัดผลและปรับปรุง ผลการทำ Hyper-Personalization Marketing จะถูกวัดและปรับปรุงต่อไป เพื่อให้การตลาดยิ่งมีประสิทธิภาพขึ้นอย่างต่อเนื่อง การวัดผลสามารถทำได้โดยการวิเคราะห์การตอบสนองจากลูกค้า และความพึงพอใจของลูกค้า ผ่านกระบวนการการทำงาน (Operations) ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในรูปแบบของการทำงานกับข้อมูล (DataOps) และการทำงานกับ Machine Learning โมเดล (MLOps)

       แม้ว่าการตลาดแบบ Hyper-Personalization Marketing จะยังเป็นเรื่องใหม่ แต่ด้วยเทรนด์โลกและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา ทำให้ธุรกิจต่างให้ความสำคัญและนำ Big Data มาวิเคราะห์เพื่อให้ต่อยอด เพื่อให้เกิดกลยุทธ์ Hyper-Personalization สามารถเข้าใจลูกค้าในลักษณะที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นการเริ่มทำ Hyper-Personalization คือการตอบสนองแนวโน้มใหม่ในตลาดและเตรียมพร้อมในการแข่งขันที่ดุเดือดของธุรกิจยุคดิจิทัล

Relate Contents

อัพเดทความรู้เกี่ยวกับ Big data การวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และข่าวสารที่น่าสนใจ

Blendata จับมือ ม.ธรรมศาสตร์ มุ่งยกระดับการศึกษาไทยด้าน Big Data และ AI สู่ความยั่งยืนยุคดิจิทัล
เบลนเดต้า (Blendata) ผู้พัฒนาเทคโนโลยีบริหารจัดการ Big Data อัจฉริยะ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินหน้าสร้างบุคลากรและนวัตกรรมด้าน Big Data และ AI ด้วยการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จริงจากภาคธุรกิจ เชื่อมโยงกับภาคการศึกษา ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้เชิงวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนับสนุนโครงการวิทยานิพนธ์และโครงการวิจัย จัดบรรยายเพื่อแบ่งปันความรู้แก่อาจารย์และนักศึกษา เปิดโอกาสให้เข้าทำงาน รวมถึงสนับสนุนการจัดกิจกรรมและทุนการศึกษา มุ่งยกระดับการศึกษาและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเทคโนโลยี Big Data และ AI สู่การสร้างนวัตกรรมที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล
Blendata จับมือ ม.ธรรมศาสตร์ มุ่งยกระดับการศึกษาไทยด้าน Big Data และ AI สู่ความยั่งยืนยุคดิจิทัล
เบลนเดต้า (Blendata) ผู้พัฒนาเทคโนโลยีบริหารจัดการ Big Data อัจฉริยะ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินหน้าสร้างบุคลากรและนวัตกรรมด้าน Big Data และ AI ด้วยการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จริงจากภาคธุรกิจ เชื่อมโยงกับภาคการศึกษา ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้เชิงวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนับสนุนโครงการวิทยานิพนธ์และโครงการวิจัย จัดบรรยายเพื่อแบ่งปันความรู้แก่อาจารย์และนักศึกษา เปิดโอกาสให้เข้าทำงาน รวมถึงสนับสนุนการจัดกิจกรรมและทุนการศึกษา มุ่งยกระดับการศึกษาและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเทคโนโลยี Big Data และ AI สู่การสร้างนวัตกรรมที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล
แค่ใช้ Data ก็รู้ใจลูกค้ามากกว่าเดิม ยกระดับธุรกิจด้วยกลยุทธ์การตลาดแบบ Hyper-Personalization
เนื่องจากผู้บริโภคในยุคปัจจุบันให้ความสำคัญกับความรวดเร็วและเวลาเป็นอย่างมากมาย ทำให้เกิดความต้องการสูงต่อการตลาดที่นำเสนอประสบการณ์ที่ปรับให้เข้ากับแต่ละบุคคล (Personalized) และอาจทำให้ความพึงพอใจของผู้บริโภคลดลงหากแบรนด์หรือร้านค้าพยายามส่งแคมเปญหรือแนะนำสินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
แค่ใช้ Data ก็รู้ใจลูกค้ามากกว่าเดิม ยกระดับธุรกิจด้วยกลยุทธ์การตลาดแบบ Hyper-Personalization
เนื่องจากผู้บริโภคในยุคปัจจุบันให้ความสำคัญกับความรวดเร็วและเวลาเป็นอย่างมากมาย ทำให้เกิดความต้องการสูงต่อการตลาดที่นำเสนอประสบการณ์ที่ปรับให้เข้ากับแต่ละบุคคล (Personalized) และอาจทำให้ความพึงพอใจของผู้บริโภคลดลงหากแบรนด์หรือร้านค้าพยายามส่งแคมเปญหรือแนะนำสินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
Data Analytics ที่ Blendata ต้องทำอะไรบ้าง?
ต้องขอเล่าย้อนไปถึงวัยชีวิตมหาวิทยาลัย ในช่วงกำลังขึ้นปี 4 คณะวิศวอุตสาหการ เป็นช่วงเวลาที่โลกของสายทางด้าน Data เปิดกว้างอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นวิชาเลือกในคณะ การเรียนออนไลน์ และรวมถึง Data Community ที่มีจัดกันขึ้นอยู่ตลอดทุกเดือน
Data Analytics ที่ Blendata ต้องทำอะไรบ้าง?
ต้องขอเล่าย้อนไปถึงวัยชีวิตมหาวิทยาลัย ในช่วงกำลังขึ้นปี 4 คณะวิศวอุตสาหการ เป็นช่วงเวลาที่โลกของสายทางด้าน Data เปิดกว้างอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นวิชาเลือกในคณะ การเรียนออนไลน์ และรวมถึง Data Community ที่มีจัดกันขึ้นอยู่ตลอดทุกเดือน

Relate Contents

อัพเดทความรู้เกี่ยวกับ Big data การวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และข่าวสารที่น่าสนใจ

เริ่มต้นกำหนดทิศทางธุรกิจ
ด้วยข้อมูลในมือคุณ
เริ่มต้นกำหนด
ทิศทางธุรกิจ ด้วย
ข้อมูลในมือคุณ
ค้นหาโอกาสใหม่ ๆ ที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล ด้วยเทคโนโลยี Big data

We use cookie to give you the best online experience Please let us know if you agree to all of these cookie.

We use cookie to give you the best online experience Please let us know if you agree to all of these cookie.

©2021 Blendata. All right reserved.

©2021 Blendata. All right reserved.