5 เหตุผล ที่องค์กรต้องทำระบบ Cybersecurity

5 เหตุผล ที่องค์กรต้องทำระบบ Cybersecurity

February 28, 2022

       ‘ภัยไซเบอร์’ ความน่ากลัวที่มาพร้อมกับการพัฒนาของเทคโนโลยีในโลกดิจิทัลที่ทุกองค์กรไม่อาจมองข้ามได้ การเตรียมพร้อมรับมืออย่างรัดกุม จึงเป็นหนทางในการป้องกันความเสียหายที่ดีที่สุด

       Blendata สรุป 5 เหตุผลที่องค์กรต้องทำระบบ Cybersecurity ซึ่งแม้จะไม่ได้เห็นผลลัพธ์เป็นมูลค่า แต่ก็นับว่าเป็นการลงทุนที่สำคัญและคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อป้องกันก่อนที่จะเกิดความเสียหายทั้งในด้านข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลธุรกิจ สูญเสียค่าใช้จ่ายมหาศาลจากการโจมตี รวมถึงความเสียหายทางด้านภาพลักษณ์ขององค์กร

       1.  เพื่อปกป้องข้อมูลขององค์กรและข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้ถูกนำไปใช้ในทางทุจริต
       การสร้างระบบ Cybersecurity ที่รัดกุมและครอบคลุมตั้งแต่การป้องกัน ไปจนถึงการวางแผนระยะยาว คือส่วนสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรสามารถสะกัดกั้นการโจมตีจากแฮกเกอร์ก่อนที่จะเข้ามาขโมยข้อมูลและนำไปใช้ในทางทุจริต ไม่ว่าจะเป็นการเข้าระบบเพื่อโจมตีให้ข้อมูลเสียหาย การขโมยข้อมูลลูกค้าไปขายหรือใช้ในการหลอกลวงเพื่อสร้างความเสียหายต่อบุคคล การนำข้อมูลไปใช้ปลอมแปลงเพื่อการทำธุรกรรม รวมทั้งการโจรกรรมข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่ (Ransomware) เป็นต้น ซึ่งองค์กรควรมีการวางแนวทางและเตรียมความพร้อมทั้งในด้านเทคโนโลยี นโยบายขององค์กร และพนักงานในองค์กร เพื่อให้ระบบ Cybersecurity ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

       2.  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย ทั้งในด้านค่าใช้จ่ายและชื่อเสียงขององค์กร.      
หากองค์กรถูกโจมตีทางไซเบอร์ แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมานั้น คือความเสียหายทางด้านค่าใช้จ่ายที่อาจมีมูลค่ามหาศาล อย่างเช่น การโจรกรรมข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่ด้วยวิธีการแอบลักลอบขนข้อมูลออกไปและติดตั้งมัลแวร์เพื่อเข้ารหัสข้อมูลไม่ให้เจ้าของข้อมูลสามารถใช้งานได้หากไม่ยอมจ่ายเงิน ที่เรียกว่า Ransomware หรืออาจเกิดค่าใช้จ่ายในการกู้คืนข้อมูลที่สูญหายไป รวมไปถึงความเสียหายในด้านชื่อเสียงขององค์กร ที่ประเมินค่าเป็นตัวเลขชัดเจนไม่ได้ แต่เรียกได้ว่าเป็นความเสียหายที่รุนแรงไม่แพ้กัน ซึ่งส่งผลให้องค์กรถูกมองในทางลบทั้งต่อผู้ลงทุน ลูกค้า รวมถึงพนักงานในองค์กรเอง การทำระบบ Cybersecurity จึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายเหล่านี้ได้

       3.  เพื่ออุดช่องโห่วการป้องกันด้วยระบบสารสนเทศขั้นพื้นฐานรูปแบบเดิม ๆ ที่ไม่เพียงพอในการป้องกันภัยไซเบอร์สมัยใหม่.      
มาตรการทางสารสนเทศ (IT Policy) คือมาตรฐานในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งถือเป็นเกราะป้องกันภัยขององค์กรที่มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จมาโดยตลอด แต่ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์มีการพัฒนารูปแบบการโจมตีที่มีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น ทำให้การป้องกันเพียงระบบสารสนเทศขั้นพื้นฐาน (Infrastructure Protection) เช่น การติดตั้ง Firewall, การแยก Zone ของระบบเครือข่าย อาจดีไม่เพียงพอสำหรับโลกในยุคปัจจุบันและเป็นช่องโหว่ให้เกิดการโจมตีได้ ซึ่งองค์กรควรวางระบบป้องกันที่ครอบคลุมมากขึ้น ตั้งแต่ระบบตรวจจับมัลแวร์หรือไวรัสที่ครอบคลุมทั้งระบบขององค์กร เช่น Antivirus, EDR (Endpoint Detection and Response) ระบบรวบรวมข้อมูลบันทึกและแจ้งเตือนจากอุปกรณ์ในองค์กรเพื่อการป้องกันและแจ้งเตือนที่ดียิ่งขึ้น เช่น SIEM (Security incident and event management)


       4.  เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและพันธมิตรที่ร่วมงานกับองค์กร.      
สถิติการเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ค่อนข้างสูงทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ทำให้องค์กร หน่วยงาน รวมถึงประชาชนเอง ต่างเกิดความกังวลและเกิดคำถามว่าข้อมูลที่หมุนเวียนอยู่ในโลกดิจิทัลนั้นถูกปกป้องอย่างดีแล้วหรือยัง ดังนั้นองค์กรและธุรกิจจึงต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในข้อมูลให้ได้มากที่สุด ผ่านการวางระบบ Cybersecurity ที่ชัดเจนและได้ประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับพันธมิตรทางธุรกิจและลูกค้าผู้ใช้บริการที่ร่วมเดินทางไปพร้อมกับองค์กร

       5.  ปฏิบัติตามพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA).      
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA คือข้อสำคัญที่ทำให้องค์กรต้องวางระบบความปลอดภัยในข้อมูล เพื่อดูแลและปกป้องข้อมูลของลูกค้า ข้อมูลผู้ใช้งาน หรือข้อมูลพนักงานในองค์กรให้ได้ประสิทธิภาพและปลอดภัยที่สุด เพราะถ้าหากองค์กรหรือหน่วยงานใดไม่ปฏิบัติตามจะทำให้เกิดบทลงโทษกฎหมาย ซึ่งมีทั้งโทษทางแพ่ง โทษทางอาญา และโทษทางปกครอง จึงเป็นเหตุผลให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ต้องตระหนักและเพิ่มมาตรการการรักษาข้อมูล เพื่อป้องกันความเสียหายทั้งต่อบุคคล องค์กร และความเสียหายทางด้านโทษทางกฏหมาย

Relate Contents

Update big data knowledge, analyse data, trends, and highlight news

Blendata จับมือ ม.ธรรมศาสตร์ มุ่งยกระดับการศึกษาไทยด้าน Big Data และ AI สู่ความยั่งยืนยุคดิจิทัล
เบลนเดต้า (Blendata) ผู้พัฒนาเทคโนโลยีบริหารจัดการ Big Data อัจฉริยะ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินหน้าสร้างบุคลากรและนวัตกรรมด้าน Big Data และ AI ด้วยการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จริงจากภาคธุรกิจ เชื่อมโยงกับภาคการศึกษา ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้เชิงวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนับสนุนโครงการวิทยานิพนธ์และโครงการวิจัย จัดบรรยายเพื่อแบ่งปันความรู้แก่อาจารย์และนักศึกษา เปิดโอกาสให้เข้าทำงาน รวมถึงสนับสนุนการจัดกิจกรรมและทุนการศึกษา มุ่งยกระดับการศึกษาและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเทคโนโลยี Big Data และ AI สู่การสร้างนวัตกรรมที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล
Blendata จับมือ ม.ธรรมศาสตร์ มุ่งยกระดับการศึกษาไทยด้าน Big Data และ AI สู่ความยั่งยืนยุคดิจิทัล
เบลนเดต้า (Blendata) ผู้พัฒนาเทคโนโลยีบริหารจัดการ Big Data อัจฉริยะ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินหน้าสร้างบุคลากรและนวัตกรรมด้าน Big Data และ AI ด้วยการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จริงจากภาคธุรกิจ เชื่อมโยงกับภาคการศึกษา ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้เชิงวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนับสนุนโครงการวิทยานิพนธ์และโครงการวิจัย จัดบรรยายเพื่อแบ่งปันความรู้แก่อาจารย์และนักศึกษา เปิดโอกาสให้เข้าทำงาน รวมถึงสนับสนุนการจัดกิจกรรมและทุนการศึกษา มุ่งยกระดับการศึกษาและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเทคโนโลยี Big Data และ AI สู่การสร้างนวัตกรรมที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล
แค่ใช้ Data ก็รู้ใจลูกค้ามากกว่าเดิม ยกระดับธุรกิจด้วยกลยุทธ์การตลาดแบบ Hyper-Personalization
เนื่องจากผู้บริโภคในยุคปัจจุบันให้ความสำคัญกับความรวดเร็วและเวลาเป็นอย่างมากมาย ทำให้เกิดความต้องการสูงต่อการตลาดที่นำเสนอประสบการณ์ที่ปรับให้เข้ากับแต่ละบุคคล (Personalized) และอาจทำให้ความพึงพอใจของผู้บริโภคลดลงหากแบรนด์หรือร้านค้าพยายามส่งแคมเปญหรือแนะนำสินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
แค่ใช้ Data ก็รู้ใจลูกค้ามากกว่าเดิม ยกระดับธุรกิจด้วยกลยุทธ์การตลาดแบบ Hyper-Personalization
เนื่องจากผู้บริโภคในยุคปัจจุบันให้ความสำคัญกับความรวดเร็วและเวลาเป็นอย่างมากมาย ทำให้เกิดความต้องการสูงต่อการตลาดที่นำเสนอประสบการณ์ที่ปรับให้เข้ากับแต่ละบุคคล (Personalized) และอาจทำให้ความพึงพอใจของผู้บริโภคลดลงหากแบรนด์หรือร้านค้าพยายามส่งแคมเปญหรือแนะนำสินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
Data Analytics ที่ Blendata ต้องทำอะไรบ้าง?
ต้องขอเล่าย้อนไปถึงวัยชีวิตมหาวิทยาลัย ในช่วงกำลังขึ้นปี 4 คณะวิศวอุตสาหการ เป็นช่วงเวลาที่โลกของสายทางด้าน Data เปิดกว้างอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นวิชาเลือกในคณะ การเรียนออนไลน์ และรวมถึง Data Community ที่มีจัดกันขึ้นอยู่ตลอดทุกเดือน
Data Analytics ที่ Blendata ต้องทำอะไรบ้าง?
ต้องขอเล่าย้อนไปถึงวัยชีวิตมหาวิทยาลัย ในช่วงกำลังขึ้นปี 4 คณะวิศวอุตสาหการ เป็นช่วงเวลาที่โลกของสายทางด้าน Data เปิดกว้างอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นวิชาเลือกในคณะ การเรียนออนไลน์ และรวมถึง Data Community ที่มีจัดกันขึ้นอยู่ตลอดทุกเดือน

Relate Contents

Update big data knowledge, analyse data, trends, and highlight news

Drive your business with data
Drive your business with data
Discover hidden opportunities within your data.

We use cookie to give you the best online experience Please let us know if you agree to all of these cookie.

We use cookie to give you the best online experience Please let us know if you agree to all of these cookie.

©2021 Blendata. All right reserved.

©2021 Blendata. All right reserved.