รู้ทัน ‘ภัยไซเบอร์’ ด้านมืดโลกดิจิทัลกับรูปแบบการโจมตีที่เปลี่ยนไป

รู้ทัน ‘ภัยไซเบอร์’ ด้านมืดโลกดิจิทัลกับรูปแบบการโจมตีที่เปลี่ยนไป

January 13, 2022

Hacker ที่เปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม

       อาชญากรไซเบอร์หรือที่คุ้นเคยกันกับคำว่า Hacker นั้น มักเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีหรือการโจรกรรมข้อมูลทางไซเบอร์ ซึ่งเป็นบุคคลนานาชาติที่ล้วนมีความรู้ ความสามารถ จึงทำให้การป้องกันภัยไซเบอร์กลายเป็นเรื่องน่าปวดหัวอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งหากพูดถึงเรื่องนี้ในช่วง 3 ถึง 5 ปีก่อน หลายองค์กรในไทยอาจมองเป็นเรื่องไกลตัว เพราะเป้าโจมตีของกลุ่ม Hacker อาจเป็นการสร้างผลกระทบต่อสาธารณะชนหรือกับบริษัทใหญ่ ๆ ในต่างประเทศมากกว่ากลุ่มบริษัทของไทย การถูกโจมตีทางไซเบอร์ในไทยจึงมีเหตุการณ์เกิดขึ้นเพียงประปราย

       แต่ในปัจจุบัน นอกจากที่ทุกคนต่างปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลแล้ว การเข้าถึงเครื่องมือ ความรู้ต่าง ๆ ก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น ทำให้ Hacker มีจำนวนมากขึ้นและเก่งขึ้นเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ จากเดิมที่การโจรกรรมข้อมูลไม่สามารถทำเงินได้ง่ายนัก เนื่องจากการโอนเงินผ่านธนาคารนั้นสามารถตรวจสอบไปยังต้นทางและปลายทางได้ แต่ในปัจจุบันได้มีการใช้สกุลเงินที่ไม่สามารถติดตามธุรกรรมได้ง่าย ๆ (Untraceable) อย่าง Cryptocurrency ทำให้สถิติการโจรกรรมข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่ด้วยวิธีการแอบลักลอบขนข้อมูลออกไป และติดตั้งมัลแวร์​เพื่อเข้ารหัสข้อมูลไม่ให้เจ้าของข้อมูลสามารถใช้งานได้หากไม่ยอมจ่ายเงิน หรือที่เรียกว่า Ransomware เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีการพัฒนา Ransomware-as-a-Service (RaaS) ที่ให้บริการทั้งในส่วนของเครื่องมือ และบริการช่วยเหลือการใช้งาน รวมถึงมีโมเดลการบริการที่ยืดหยุ่น ทำให้การที่จะเป็นอาชญากรไซเบอร์นั้นยิ่งง่ายขึ้นไปอีก ซึ่งเพิ่มความน่ากังวลให้กับทั่วโลก และตอกย้ำให้เห็นว่าการโจมตีองค์กรจากผู้ไม่หวังดี อาจไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

วิธีการโจมตีที่ซับซ้อนและแนบเนียนยิ่งขึ้น

       มาตรการทางสารสนเทศ (IT Policy) คือมาตรฐานในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งถือเป็นเกราะป้องกันภัยขององค์กรที่มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จมาโดยตลอด แต่ในปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้มีการพัฒนารูปแบบการโจมตีที่มีความซับซ้อนที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากทฤษฎี Cyber Kill Chain ของ Lockheed martin หรือองค์กรอิสระอย่าง MITRE ATT&CK ที่ได้อธิบายขั้นตอนการโจมตีระบบ IT ของ Hacker ไว้อย่างน่าสนใจ โดยสังเขปแล้ว Hacker จะแฝงตัวอยู่ในระบบเป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้การโจมตีเป็นไปอย่างแนบเนียนและมีความผิดปกติน้อยที่สุด ซึ่งสามารถสรุปเนื้อหาสำคัญได้ ดังนี้

  1. การตรวจตราดูว่าระบบเป็นอย่างไร มีช่องโหว่อะไรบ้าง เพื่อเตรียมการโจมตีที่ถูกจุด
  2. การเข้าสู่ระบบ ผ่านช่องโหว่ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือ Policy ที่หละหลวม รวมถึงการได้รหัสผู้ใช้งานจากอีเมลล์ปลอม หรือแม้กระทั่งการได้รับความร่วมมือจากคนภายใน
  3. ยกระดับสิทธิของตนเองให้อยู่ระดับที่เข้าถึงได้ทุกระบบภายในองค์กรและหลีกเลี่ยงระบบตรวจจับ Hacker เช่น พยายามเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใช้งานทั่วไป หรือแอบปิดการทำงานของระบบ Antivirus
  4. แฝงตัวอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่องก่อนจะเจอเครื่องเป้าหมายที่เก็บข้อมูลสำคัญ
  5. โจมตี โดยการติดตั้งไวรัส มัลแวร์ หรือการขโมยข้อมูลที่สำคัญเพื่อเรียกค่าไถ่
  6. ขนข้อมูลออกไป หากเป็นการขโมยข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่แล้ว Hacker มักจะทำการแอบขนข้อมูลออกไปด้วยหลากหลายเทคนิค เพื่อไม่ให้ตรวจจับได้ เช่น การลอบขนข้อมูลด้วย User ที่ได้รับการยกเว้น Policy ในการขนข้อมูลออก เป็นต้น

ระบบการป้องกันที่ต้องมีการยกระดับ

       จากรูปแบบการโจมตีที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้การป้องกันเดิมที่มีอยู่อาจไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป การป้องกันเพียงระบบสารสนเทศขั้นพื้นฐาน (Infrastructure Protection) เช่น การติดตั้ง Firewall หรือการแยก Zone ของระบบเครือข่าย อาจดีไม่เพียงพอสำหรับโลกในยุคปัจจุบัน ซึ่งอาจต้องการระบบป้องกันที่มากขึ้นตั้งแต่ระบบตรวจจับมัลแวร์หรือไวรัสที่ครอบคลุมทั้งระบบขององค์กร เช่น Antivirus, EDR (Endpoint Detection and Response) ระบบรวบรวมข้อมูลบันทึกและแจ้งเตือนจากอุปกรณ์ในองค์กรเพื่อการป้องกันและแจ้งเตือนที่ดียิ่งขึ้น เช่น SIEM (Security Incident and Event Management)

       นอกจากนี้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Big Data ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางด้านไซเบอร์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลบันทึกของอุปกรณ์ (Log) ข้อมูลจากแอพพลิเคชัน ข้อมูลจากระบบคลาวด์ขององค์กร รวมไปถึงข้อมูลทางด้านภัยคุกคามจากภายนอก (Threat intel) มาจัดเก็บและประมวลผล เพื่อทำการตรวจพิสูจน์หลักฐาน (Forensic) ทางดิจิทัลที่ครอบคลุมในทุกส่วนขององค์กร ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการปลดล็อกขีดจำกัดของเครื่องมือเดิมที่รองรับเฉพาะอุปกรณ์ทางด้านไซเบอร์ที่รู้จักเท่านั้น ซึ่ง Big Data สามารถรองรับข้อมูลได้หลากหลายชนิดที่มีขนาดใหญ่ รวมไปถึงมีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่ค่อนข้างเร็ว อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูล พฤติกรรม ความผิดปกติที่ตรวจสอบพบมาวางแนวทางในการป้องกันภัยไซเบอร์ในอนาคตได้อีกด้วย

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ Cybersecurity Customer Success by Blendata คลิก > https://blendata.co/th/customers/case-3-cybersecurity-data-lake/

Relate Contents

Update big data knowledge, analyse data, trends, and highlight news

Blendata นำเทคโนโลยี Big Data ไทย คว้ารางวัลระดับนานาชาติจาก APICTA 2023 ดันเทคโนโลยีไทยก้าวสู่ระดับโลก
เบลนเดต้า (Blendata) นำแพลตฟอร์ม Blendata Enterprise เทคโนโลยีบริหารจัดการ Big Data ครบวงจรสัญชาติไทย คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 บนเวทีระดับประเทศ TICTA - Thailand ICT Awards 2023 หลังเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันต่อในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และได้คว้ารางวัล Merit Award ในระดับนานาชาติจากเวที APICTA - The Asia Pacific ICT Alliance Awards 2023 ณ ประเทศฮ่องกง ในประเภท Business Services สาขาย่อย ICT Services Solutions เวทีการแข่งขันระดับนานาชาติที่รวมตัวแทนจากประเทศในเอเชียแปซิฟิก เพื่อค้นหาสุดยอดเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมที่มีคุณค่าต่อสังคมและธุรกิจ ชูจุดเด่นแพลตฟอร์มบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่แก้ปัญหาด้าน Big Data ขององค์กรธุรกิจได้จริง ใช้งานง่าย สามารถวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทันต่อการแข่งขันธุรกิจโลกดิจิทัล
Blendata นำเทคโนโลยี Big Data ไทย คว้ารางวัลระดับนานาชาติจาก APICTA 2023 ดันเทคโนโลยีไทยก้าวสู่ระดับโลก
เบลนเดต้า (Blendata) นำแพลตฟอร์ม Blendata Enterprise เทคโนโลยีบริหารจัดการ Big Data ครบวงจรสัญชาติไทย คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 บนเวทีระดับประเทศ TICTA - Thailand ICT Awards 2023 หลังเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันต่อในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และได้คว้ารางวัล Merit Award ในระดับนานาชาติจากเวที APICTA - The Asia Pacific ICT Alliance Awards 2023 ณ ประเทศฮ่องกง ในประเภท Business Services สาขาย่อย ICT Services Solutions เวทีการแข่งขันระดับนานาชาติที่รวมตัวแทนจากประเทศในเอเชียแปซิฟิก เพื่อค้นหาสุดยอดเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมที่มีคุณค่าต่อสังคมและธุรกิจ ชูจุดเด่นแพลตฟอร์มบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่แก้ปัญหาด้าน Big Data ขององค์กรธุรกิจได้จริง ใช้งานง่าย สามารถวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทันต่อการแข่งขันธุรกิจโลกดิจิทัล
Blendata ลุยขยาย Ecosystem จับมือพันธมิตรเอเชีย Smart Minds ยกระดับโซลูชันด้านโลจิสติกส์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APEC)
เบลนเดต้า (Blendata) ผู้พัฒนาเทคโนโลยีบริหารจัดการ Big Data อัจฉริยะ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับบริษัท Smart Minds ผู้ให้บริการโซลูชันโลจิสติกส์ชั้นนำในประเทศฮ่องกง ผสานศักยภาพด้านการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ของ Blendata พร้อมความเชี่ยวชาญด้านระบบโลจิสติกส์ของ Smart Minds
Blendata ลุยขยาย Ecosystem จับมือพันธมิตรเอเชีย Smart Minds ยกระดับโซลูชันด้านโลจิสติกส์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APEC)
เบลนเดต้า (Blendata) ผู้พัฒนาเทคโนโลยีบริหารจัดการ Big Data อัจฉริยะ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับบริษัท Smart Minds ผู้ให้บริการโซลูชันโลจิสติกส์ชั้นนำในประเทศฮ่องกง ผสานศักยภาพด้านการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ของ Blendata พร้อมความเชี่ยวชาญด้านระบบโลจิสติกส์ของ Smart Minds
ข้อดีของการทำ Hyper-Personalization ในยุคที่ ‘ข้อมูล’ คือแกนหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจ
ยุคดิจิทัลคือยุคที่ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงโลกทั้งใบเข้าด้วยกัน ข้อมูลมหาศาลนั้นสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์กับธุรกิจได้อย่างหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการทำ Hyper-Personalization ที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าได้จำนวนมากขึ้น พร้อมสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้มากกว่าเดิม และยังเป็นเทรนด์ที่มาแรงที่สุดในสองสามปีที่ผ่านมา นี่จึงเป็นโอกาสที่ดีที่บริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ จะสามารถยกระดับธุรกิจสู่ศักยภาพที่เหนือกว่าด้วยการใช้ประโยชน์จาก ‘ข้อมูล’
ข้อดีของการทำ Hyper-Personalization ในยุคที่ ‘ข้อมูล’ คือแกนหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจ
ยุคดิจิทัลคือยุคที่ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงโลกทั้งใบเข้าด้วยกัน ข้อมูลมหาศาลนั้นสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์กับธุรกิจได้อย่างหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการทำ Hyper-Personalization ที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าได้จำนวนมากขึ้น พร้อมสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้มากกว่าเดิม และยังเป็นเทรนด์ที่มาแรงที่สุดในสองสามปีที่ผ่านมา นี่จึงเป็นโอกาสที่ดีที่บริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ จะสามารถยกระดับธุรกิจสู่ศักยภาพที่เหนือกว่าด้วยการใช้ประโยชน์จาก ‘ข้อมูล’

Relate Contents

Update big data knowledge, analyse data, trends, and highlight news

Drive your business with data
Drive your business with data
Discover hidden opportunities within your data.

We use cookie to give you the best online experience Please let us know if you agree to all of these cookie.

We use cookie to give you the best online experience Please let us know if you agree to all of these cookie.

©2021 Blendata. All right reserved.

©2021 Blendata. All right reserved.